
การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม 2567 - 30 มีนาคม 2568)
นางสาวพรศิริ ดวงสิน ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา
ส่วนที่ 1 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ข้าพเจ้ามีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง 5 ด้าน ดังนี้

ด้านการบริหารวิชาการ
และความเป็นผู้นำทางวิชาการ

ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ด้านการบริหารวิชาการ และความเป็นผู้นำทางวิชาการ
1) การวางแผนพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน
ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการทางการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ทั้งจากผลการเรียน ข้อมูลเชิงประจักษ์ และความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้ปกครอง และชุมชน จากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว โรงเรียนได้จัดทำ แผนพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ โดยเน้นการพัฒนา ทักษะพื้นฐาน ความสามารถทางวิชาการ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางพัฒนานักเรียน เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับครูและผู้ปกครอง การนำข้อมูลจากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนมาใช้กำหนดแนวทางแก้ไข การพัฒนารูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละระดับ ผลจากการดำเนินการนี้ทำให้โรงเรียนสามารถยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตร ส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และช่วยลดปัญหาการเรียนอ่อนในกลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
2) การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านสะเดาใหญ่ดำเนินการ วิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ชุมชน และนโยบายทางการศึกษาของชาติ โดยมีการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2560 สำรวจความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรที่เน้น การเรียนรู้แบบ Active Learning และพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นระยะ และปรับปรุงหลักสูตรตามความเหมาะสม ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานทำให้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชนได้เป็นอย่างดี ช่วยพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนให้มีทักษะที่จำเป็น พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
3) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และปฏิบัติการสอน
ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสสถานศึกษาให้ปฏิบัติการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ปฏิบัติการสอนประจำวิชาจำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.5 จำนวน 3 ชั่วโมง / สัปดาห์ วิชาวิทยาศาสตร์ชั้น ป.6 จำนวน 3 ชั่วโมง / สัปดาห์ วิชาคอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ กิจกรรมแนะแนว ชั้น ป. 1 จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ กิจกรรมแนะแนว ชั้น ป.2 จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ กิจกรรมแนะแนว ชั้น ป.3 จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ เสริมสร้างการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย และพัฒนาสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และความพร้อมในการดำรงชีวิต
4) การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้
ส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมอบรมและสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ เช่น การใช้ Google Classroom, Kahoot, Canva, และโปรแกรมสื่อการสอนแบบอินเทอร์แอคทีฟ สนับสนุนการพัฒนาสื่อการสอนที่สอดคล้องกับกลุ่มสาระ เช่น สื่อการสอนแบบ STEM, Active Learning, และ PBL (Problem-Based Learning) ผลที่ได้รับคือ นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง ครูสามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยและตอบโจทย์ผู้เรียนในยุคดิจิทัล
5) นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา และมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ดำเนินการนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนรู้ของครู โดยสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ นอกจากนี้โรงเรียนยังมีระบบประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษา กำกับดูแลเกี่ยวกับการกำหนดค่าเป้าหมาย ติดตามผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน คุณภาพการสอนของครู พัฒนาการจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยสนับสนุนครูให้ใช้ นวัตกรรมการสอน และเทคโนโลยีการศึกษา ส่งเสริมการพัฒนาครู ผ่านการอบรม การนิเทศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) และการวิจัยในชั้นเรีย ติดตามการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น ห้องเรียน ข้าพเจ้าใช้ ผลการประเมิน เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยวิเคราะห์ผลการประเมิน เพื่อระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุง ทบทวนแผนกลยุทธ์ และกำหนดแนวทางพัฒนาที่ตอบโจทย์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการสอนใหม่ ๆ นำข้อเสนอแนะไปปรับใช้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ร่วมจัดทำและตรวจสอบแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2567 และการรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
6) การศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียน เพื่อนำมาวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของสถานศึกษา นำข้อมูลที่ได้มาร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา สังเคราะห์แนวทางแก้ไขที่เหมาะสมโดยใช้หลักการทางการศึกษา ร่วมส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน และการนวัตกรรมการเรียนรู้ เช่น เทคโนโลยีทางการศึกษา การเรียนรู้แบบ Active Learning วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน สอบถามความคิดเห็นจากครูและผู้ปกครอง เพื่อเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการอ่านออกเขียนได้ คิดเล็กเป็น ส่งเสริมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบหลากหลาย เช่น การอ่านออกเสียง การอ่านจับใจความ ติดตามและให้คำแนะนำ ส่งเสริมการฝึกฝนทางคณิคศาตร์ และสะท้อนผลลัพธ์ผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
1) การบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
มีการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านบริหารทั่วไป ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังกับ นโยบาย และตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีการติดตามผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรให้เป็นไปตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ร่วมส่งเสริมวินัยข้าราชการครูและบุคลากร ร่วมบริหารงบประมาณและทรัพยากรอย่างโปร่งใส ร่วมกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานของโรงเรียน กระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความรับผิดชอบ และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสร้างระบบสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ครูและบุคลากรเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
2) การบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน มีสารสนเทศและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารกิจการผู้เรียน ประชุมชี้แจงบุคลากร มอบหมายงาน มีกรรมการนักเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้เรียน มีการติดตาม และประเมินผล 1) การวางแผนกิจกรรมเสริมสร้างวินัย ร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดทำแผนกิจกรรมเสริมสร้างวินัย ที่สอดคล้องกับช่วงวัยของผู้เรียน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดทำระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎระเบียบ 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมวินัยอย่างเป็นระบบ จัดกิจกรรมอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการมีวินัย เช่น การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง และการเคารพกฎระเบียบของโรงเรียน ใช้กิจกรรมเสริมสร้างวินัยผ่านการฝึกระเบียบแถว การเข้าแถวหน้าเสาธง และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นระเบียบวินัยในการเรียนรู้ 3) การติดตามและประเมินผลการเสริมสร้างวินัย ใช้เครื่องมือในการประเมิน เช่น แบบประเมินพฤติกรรม การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน และการสอบถามความคิดเห็นจากครูและผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประเมิน เพื่อนำมาปรับปรุงกิจกรรมและแนวทางในการเสริมสร้างวินัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4) การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำผลการประเมินมาปรับปรุงกิจกรรมและกระบวนการเสริมสร้างวินัย โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย
3) การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษา ร่วมจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียน สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เรียนที่มีความต้องการการช่วยเหลือ การวัดแวว คัดกรอง SDQ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ครอบครัว การเรียนรู้ และพฤติกรรม วางแผนการช่วยเหลือ จัดทำแผนการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา เช่น การสนับสนุนด้านการเรียน และการจัดหาทุนการศึกษาให้ผู้เรียนที่ขาดแคลน จัดตั้งคณะทำงาน จัดตั้งทีมครูที่ปรึกษาและครูแนะแนว เพื่อช่วยติดตามและดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อคัดครองนักเรียนที่มีฐานะยากจน ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ ติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแล ช่วยเหลือผู้เรียน โครงการกองทุนช่วยเหลือนักเรียนยากจน เพื่อส่งเสริมพัฒนานักเรียนทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักเรียนกลุ่มปกติหรือกลุ่ม เสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มความสามารถพิเศษ ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีความภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ และปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือ เช่น การเพิ่มกิจกรรมเสริมทักษะ การให้คำปรึกษา


ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม
1) กําหนดนโยบาย กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมการบริหาร
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษาให้ร่วมกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ ซึ่งได้แก่ ยกระดับคุณภาพสถานศึกษา พัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักธรรมาภิบาล บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านดนตรี กีฬา และอาชีพ โดยร่วมจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการประเมินสถานศึกษา และความต้องการของชุมชน เพื่อนำมากำหนดเป้าหมาย วางแผน และจัดทำโครงการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง
2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษา
วิเคราะห์ วางแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาสถานศึกษาโดยสร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน สร้างการมีส่วนร่วม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน กำหนดกิจกรรม โครงการ งบประมาณ และระยะเวลาในการดำเนินงาน ให้คำปรึกษา แนะนำ และ ช่วยแก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ติดตามการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย
1) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษาให้ร่วมสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรทุกระดับ ใช้หลัก พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ในการบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณของสถานศึกษา ส่งเสริมให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษามีบทบาทในการวางแผน และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษา ร่วมพัฒนาการมีส่วนร่วมจากครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่ายภายนอก เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการและปัญหาที่ต้องแก้ไข วางแผนการพัฒนาร่วมกัน จัดทำแผนงานและกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ คุณธรรม จริยธรรม และการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นและร่วมวางแผน กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ เช่น การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน จากนั้นจัดกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมเสริมทักษะชีวิต และการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับชุมชน เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมผ่านกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมสวดมนต์ จัดตั้งครูที่ปรึกษาให้คำปรึกษาทั้งด้านการเรียนและชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับผู้ปกครองในการติดตามพฤติกรรมผู้เรียน สร้างความร่วมมือกับเครือข่าย การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน และการประสานงานกับองค์กรภายนอกในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการติดตามการดำเนินงาน รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ปรับปรุงแผนการดำเนินงานและกิจกรรม เปิดโอกาสให้ครูและผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาผู้เรียน
2) การจัดระบบให้บริการในสถานศึกษา
วางแผนให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน และงานจิตอาสา เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน และเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านเพจเฟซบุ๊ก และเว็ปไซต์ของโรงเรียน มีแหล่งเรียนรู้ศาสตร์พระราชา บริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น


ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
7) การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ข้าพเจ้าประเมินตนเองเพื่อค้นหาจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนา เช่น ทักษะภาษา การใช้เทคโนโลยี และความรู้ด้านการบริหาร กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เข้าร่วมการอบรม เรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ นำความรู้และทักษะใหม่ไปใช้ในการทำงาน ตรวจสอบว่าตนเองได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ เช่น สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้คล่องแคล่ว หากยังขาดทักษะใดก็อาจต้องเพิ่มการฝึกฝนหรือหาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม ศึกษา หาความรู้ด้านการใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา มีส่วนร่วมและเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งในช่วง 1 ตุลาคม 2567 - 30 มีนาคม 2568 ได้พัฒนาตนเองดังนี้
(1) การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการเงินผ่านระบบออนไลน์ หลักสูตร OBEC – Money Coach สร้างความยั่งยืนด้วยความฉลาดรู้ด้านการเงิน
(2) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านจิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ หลักสูตร หลักพื้นฐานสุขภาพจิตตามวัย
(3) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านจิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ หลักสูตร การปรับพฤติกรรมเชิงบวก
(4) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านจิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ หลักสูตร การฟังเชิงลึก deep listening
(5) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านจิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ หลักสูตร โรค/ปัญหาที่พบบ่อยและการดูแลเบื้องต้น
(6) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านจิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์เพื่อปฏิบัติหน้าที่เครือข่ายนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน
(7) โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและบุคลากร เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567
(8) ส่งเสริมสถานศึกษาและประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 การศึกษาปฐมวัย
(9) ส่งเสริมสถานศึกษาและประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(10) โครงการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รุ่นที่ 2 กิจกรรมที่ 2 AI กับการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
(11) การอบรมการขยายผลการสร้างข้อสอบวัดความฉลาดรู้
(12) ส่งเสริมสถานศึกษาและประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 5 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การนำความรู้ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครู สถานศึกษา
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษาให้นำความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมถึงการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพของครูและผู้เรียน โดยมีการดำเนินงานดังนี้
จัดทำสถิติการมาเรียนออนไลน์
ข้าพเจ้าได้นำทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) มาใช้ในการจัดทำระบบติดตามการมาเรียนออนไลน์ของนักเรียน ด้วยการใช้เครื่องมือ Google Sheets ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยให้ครูสามารถติดตามความสม่ำเสมอในการเข้าเรียน และนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างทันท่วงที
การใช้ AI พัฒนางานประชาสัมพันธ์
ด้วยความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ข้าพเจ้าได้นำ AI เช่น ChatGPT Canva AI Capcut มาใช้ในการสร้างเนื้อหาและออกแบบกราฟิกสำหรับงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน การตัดต่อคลิปวิดีโอ เช่น การสร้างโพสต์ในเพจ Facebook ของโรงเรียนบ้านสะเดาใหญ่ การทำอินโฟกราฟิกเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ช่วยให้การสื่อสารกับผู้ปกครองและชุมชนมีความน่าสนใจ และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
นำเทคโนโลยีมาช่วยการบริหารและจัดการเรียนรู้
ข้าพเจ้าได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยี เช่น การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Forms เพื่อสำรวจความคิดเห็น ความพึงพอใจ ข้อสอบ เป็นต้น
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ข้าพเจ้ามีการสนับสนุนให้ครูกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เช่น การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps)

ส ่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา

1. สภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
การพัฒนาผู้เรียนตามตัวชี้วัดในหลักสูตรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้เรียน และในปัจจุบัน การศึกษาในระดับสากลได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนเพื่อให้สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่หลากหลาย การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นหนึ่งในรูปแบบการสอนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวทางสำคัญที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ทั้งในด้านการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะชีวิตอื่น ๆ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ในปีการศึกษา 2566 นักเรียนโรงเรียนบ้านสะเดาใหญ่ มีผลการประเมิน O-NET ของนักเรียนระดับโรงเรียนต่ำกว่าค่าลี่ยระดับประเทศ ทั้ง 4 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งคะแนนห่างจากค่าเฉลี่ยระดับประเทศค่อนข้างมาก
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)


คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566
คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566


ที่มา : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2566
2. วิธีการดำเนินงานให้บรรลุผล

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
1) ครูผู้สอน ร้อยละ 90 จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
2) นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
3) คะแนน O-NET เฉลี่ยระดับโรงเรียนปีการศึกษา 2567 สูงกว่า คะแนน O-NET เฉลี่ยระดับโรงเรียนปีการศึกษา 2566
3.2 เชิงคุณภาพ
1) ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
3) นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มศักยภาพ
4. ผลลัพธ์การพัฒนา
3.1 เชิงปริมาณ
1) ครูผู้สอน ร้อยละ 100 จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
2) นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนน O-NET เฉลี่ยระดับโรงเรียนปีการศึกษา 2567 สูงกว่า คะแนน O-NET เฉลี่ยระดับโรงเรียนปีการศึกษา 2566 ทั้งหมด 3 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ และเฉลี่ยรวมทุกวิชา สูงกว่า ปีการศึกษาที่ผ่านมา แสดงดังตารางและแผนภูมิ


4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนน O-NET เฉลี่ยระดับโรงเรียนปีการศึกษา 2567 สูงกว่า คะแนน O-NET เฉลี่ยระดับโรงเรียนปีการศึกษา 2566 สูงกว่า ปีการศึกษาที่ผ่านมา ทุกวิชา และมีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ 2 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แสดงดังตารางและแผนภูมิ


3.2 เชิงคุณภาพ
1) ครูเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2) นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มศักยภาพภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน